top of page

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมครูและศึกษานิเทศก์เรื่องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบ   STEM Education และความสามารถด้าน Soft Skills โดยการลงมือปฏิบัติจริง

  • เพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education และความสามารถด้าน Soft Skills โดยการลงมือปฏิบัติจริง 

  • เพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์ให้สามารถนิเทศ กำกับ ติดตาม ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education และความสามารถด้าน Soft Skills โดยการลงมือปฏิบัติจริง 

  • เพื่อติดตามและศึกษาผลการพัฒนาครูและศึกษานิเทศก์ที่ผ่านการอบรมการพัฒนานวัตกรรม  การเรียนรู้แบบ STEM Education และความสามารถด้าน Soft Skills โดยการลงมือปฏิบัติจริง 

  • เพื่อนำเสนอ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และค้นหาต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education และความสามารถด้าน Soft Skills โดยการลงมือปฏิบัติจริง 

  • เพื่อสรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบ   STEM Education และความสามารถด้าน Soft Skills โดยการลงมือปฏิบัติจริง

เป้าหมาย

  • หลักสูตรฝึกอบรมครูและศึกษานิเทศก์ เรื่องการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education และความสามารถด้าน Soft Skills โดยการลงมือปฏิบัติจริง สำหรับครู จำนวน 1 หลักสูตร และสำหรับศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 หลักสูตร 

  • ครูจากโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั้ง 183 เขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย ครูที่รับผิดชอบรายวิชาวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 คน และครูที่รับผิดชอบรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 366 คน 

  • ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบการเรียนรู้แบบ STEM Education ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 183 เขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 183 คน  

  • ได้เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 1 เครือข่าย ของครูและศึกษานิเทศก์ที่เข้าร่วมโครงการฯ 

  • ต้นแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education และความสามารถด้าน Soft Skills โดยการ ลงมือปฏิบัติจริง จำนวนไม่น้อยกว่า 36 ต้นแบบ (เขตตรวจราชการละ 2 ต้นแบบ) 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

bottom of page